โรคไข้สาดใหญ่ ภัยหน้าหนาวสำหรับนักแคมป์ กางเต็นท์ เดินป่า ต้องระวัง

โรคไข้สาดใหญ่ ภัยหน้าหนาวสำหรับนักแคมป์ กางเต็นท์ เดินป่า ต้องระวัง
สำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ชื่นชอบการเที่ยวป่า กางเต็นท์ในช่วงฤดูหนาวแบบนี้ ต้องระวังสุขภาพกันไว้ให้มาก ๆ นะครับ หนึ่งในนั้นเลยก็คือ “โรคไข้สาดใหญ่” ซึ่งมีตัวไรอ่อนเป็นพาหนะ
โรคไข้สาดใหญ่ สาเหตุเกิดจากอะไร ?
โรคไข้สาดใหญ่ (Typhus) สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีตัวไรอ่อนเป็นพาหนะ ติดต่อได้จากการถูกตัวไรอ่อนกัด ซึ่งมักจะชอบกัดในบริเวณร่มผ่า เช่น ขาหนีบ เอว ลำตัว รักแร้ ซึ่งในป่าทึบจะพบกลุ่มของตัวไรอ่อนอาศัยกินน้ำเหลืองจากสัตว์เลือดอุ่น เช่น นก หนู และสัตว์เลี้อยคลาน
Chhandama, Commons.wiimedia
โรคไข้สาดใหญ่ มีอาการอย่างไร ?
อาการโรคไข้สาดใหญ่ จะไม่พบในทันที แต่จะเริ่มแสดงอาการหลังจากถูกกัด 10-12 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เมื่อยตัว ปวดกระบอกตา ตาแดง ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ป่วย บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ ทำให้เสียชีวิตได้ หากนักท่องเที่ยวรู้สึกมีอาการป่วย ไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ หลังจากเดินทางกลับออกมาจากป่าใน 2 สัปดาห์ ควรรีบไปพบแพทย์
วิธีป้องกันโรคไข้สาดใหญ่ ทำอย่างไร ?
- สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมถุงเท้าหุ้มปลายขากางเกง
- ทาโลชั่นกันยุง หรือสมุนไพรกันยุง สามารถป้องกันตัวไรอ่อนกัดได้
- ทำความสะอาดบริเวณรอบเต็นท์ให้โล่งเตียน หลีกเลี่ยงการนั่งบริเวณพื้นหญ้า หรือ พุ่มไม้
- หลังออกจากป่าให้ทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้าให้สะอาด ป้องกันตัวไรอ่อนที่ติดกลับมาด้วย